การประกันภัยป้ายโฆษณา
( Neon Sign Insurance )
ป้าย โฆษณาเป็นสื่อชนิดหนึ่ง และเป็นกลยุทธ์หัวใจสำคัญของการตลาดในโลกของการแข่งขันธุรกิจ จึงมาขนาดและวัสดุที่ใช้แตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้สอย และมีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการสื่อสารตั้งแต่การเขียนเป็นป้ายแบบง่ายๆ จนถึงป้ายโฆษณาที่มีสีสันและประดับด้วยโคมไฟ
การติดตั้งป้ายโฆษณาส่วนใหญ่จะติดตั้งในบริเวณจุดเด่นที่จะทำให้ผู้คนสนใจ เห็นง่ายและชัดเจน ดังนั้นการออกแบบโครงสร้างและฐานป้ายโฆษณาจะต้องแข็งแรงเพียงพอที่จะรองรับ น้ำหนักและต้านแรงของลมได้อย่างดี
การเสี่ยงภัยที่ป้ายโฆษณาจะต้องเผชิญกับความเสียหายนั้น มีความเสียหายต่อตัวป้ายโฆษณาเองแล้ว หากป้ายล้มลงหรือมีส่วนใดส่วนหนึ่งของป้ายไปทำความบาดเจ็บทางร่างกายและความ เสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ผู้ที่เป็นเจ้าของต้องมีส่วนต้องรับผิดชอบตามกฎหมายที่จะต้องชดใช้ค่าสิน ไหม ความคุ้มครองของการประกันภัยป้ายโฆษณา ให้ความคุ้มครองโดยแบ่งออกเป็น 2 หมวดดังนี้
หมวดที่ 1 ความเสียหายต่อทรัพย์สิน
บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ เอาประกันภัยสำหรับความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ต่อป้ายโฆษณา หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของป้ายโฆษณา ดังระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัยอันเกิดจาก
หมวดที่ 2 ความรัยผิดต่อบุคคลภายนอก
บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกสำหรับจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดตามกฎหมายอันเนื่องมากจาก
อนึ่ง ความรับผิดตามหมวดนี้ให้รวมถึงความเสียหายใด ๆ ที่เกิดจากความบกพร่องในการติดตั้ง
ข้อยกเว้นของการประกันภัยป้ายโฆษณา
ส่วนแรก ข้อยกเว้นทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับความคุ้มครองในหมวดที่ 1 และหมวดที่ 2 บริษัทจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายดังต่อไปนี้
ข้อยกเว้นทั่วไปทั้งข้อ 2 และ 3 เป็นข้อยกเว้นสำหรับความเสียหายทีเป็นมหันตภัย ซึ่งเป็นข่อยกเว้นที่กำหนดไว้ในสัญญาประกันวินาศภัยโดยทั่วไป
ส่วนที่สอง ข้อยกเว้นเฉพาะแต่ละหมวด
ข้อยกเว้นเฉพาะหมวดที่ 1 ( ความเสียหายต่อทรัพย์สิน )
บริษัทจะไม่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์นี้ถ้าความเสียหายดังกล่าวเกิดจาก
เนื่องจากกรมธรรม์ประกันภัยป้ายโฆษณาคุ้มครองความเสียหายจาก อุบัติเหตุ ซึ่งเกิดจากเหตุภายนอก จึงต้องมีการยกเว้น ความคุ้มครองถึงความเสียหายบางอย่าง ซึ่งเกิดขึ้นตามปกติวิสัย อันเนื่องมาจาการใช้งาน
ข้อยกเว้นเฉพาะหมวดที่ 2 ( ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก )
สำหรับข้อยกเว้นในหมวดที่ 2 ไม่ได้มีการแยกออกมาอย่างชัดแจ้งแต่พอจะกล่าวได้ดังนี้
จำนวนเงินที่เอาประกันภัย
จำนวนเงินที่เอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันภัยป้ายโฆษณา จะแบ่งออกเป็น 2 หมวด คือ
หมวดที่ 1 ความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้
ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยก็คือ ป้ายโฆษณาหรือส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นองค์ประกอบของป้ายโฆษณา โดยจำนวนเงินที่เอาประกันภัยควรจะเป็นมูลค่าในการทดแทนทรัพย์สิน และเป็นจำนวนเงินเอาประกันภัยต่ออุบัติเหตุหนึ่งครั้ง
หมวดที่ 2 ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
จำนวนเงินเอาประกันภัย ภายใต้หมวดนี้จะแบ่งออกเป็นจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อชีวิต ร่างกาย ซึ่งจะกำหนดเป็นจำนวนเงินเอาประกันภัยสูงสุดต่อหนึ่งคน และต่ออุบัติเหตุหนึ่งครั้ง โดยทั่วไปแล้วจำนวนเงินเอาประกันภัยต่ออุบัติเหตุหนึ่งครั้งจะสูงกว่าต่อ หนึ่งคน เนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุครั้งหนึ่งอาจจะมีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต มากกว่าหนึ่งคน
สำหรับจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อทรัพย์สิน จะแยกรายการออกไป โดยเป็นจำนวนเงินเอาประกันภัยสูงสุดต่ออุบัติเหตุหนึ่งครั้ง
อย่างไรก็ตาม ความรัยผิดสูงสุดของกรมธรรม์ประกันภัยนี้ ภายใต้หมวดที่ 2 ก็ได้มีการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยรวมไว้ด้วย
การพิจารณาเลือกจำนวนเงินเอาประกันภัยสูงต่ำขนาดไหนนั้น ขึ้นอยู่กับการประเมินลักษณะความเสี่ยงและสภาพทางสังคมของแต่ละท้างถิ่น
การขยายความคุ้มครอง
กรมธรรม์ประกันภัยป้ายโฆษณา สามารถให้ความคุ้มครองเพิ่มเติมแก่ผู้เอาประกันภัย ดังต่อไปนี้
1. ความเสียหายต่อโครงที่ใช้เป็นฐานในการติดตั้งโฆษณา
เมื่อเกิดความเสียหาย เช่น ไฟไหม้ อาจมีผลกระทบต่อโครงที่ใช้เป็นฐานในการติดตั้งป้ายโฆษณา และโดยการขยายความคุ้มครองนี้ บริษัทจะชดใช้ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมให้กลับคืนสภาพเดิม หรือทดแทนโครงสร้างที่ได้รับความเสียหายดังกล่าว
2. ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายซากทรัพย์
จำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับทรัพย์สิน ที่เอาประกันภัยนั้นเป็นมูลค่าของป้ายโฆษณาหรือโครงสร้างที่เป็นฐานในการติด ตั้ง ( หากได้มีการขอขยายความคุ้มครอง ) แต่ยังมิได้หมายความถึงค่าใช้เจ่ายมในการขนย้ายซากทรัพย์ที่ได้รับความเสีย หาย เพื่อที่จะทำการซ่อมแซมให้แผ่นป้ายโฆษณาที่ได้รับความเสียหายกลับคืนสภาพ ปกติ การขยายความคุ้มครอง บริษัทจะชดใช้ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายซากทรัพย์ที่ได้รับความเสียหายจากภัยที่ เอาประกันภัยไว้
ความเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง
บริษัทอาจกำหนดให้ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบในความเสียหายส่วนแรกด้วยตน เอง เพื่อช่วยกระตุ้นให้ผู้เอาประกันภัยได้ระมัดระวัง ดูแลรักษาทรัพย์สินที่เอาประกันภัยตามสมควร และอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตามปกติ อีกทั้งบริษัทไม่ต้องเกี่ยวข้องกับค่าเสียหายจำนวนเล็กน้อยที่อาจจะเกิดขึ้น เป็นประจำ อันเป็นผลทำให้เบี้ยประกันภัยถูกลงด้วย