การประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด ( All Risks Insurance )

การประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด ( All Risks Insurance )

การประกันการเสี่ยงภัยทุกชนิด ( All Risks Insurance )

กรมธรรม์ประกันภัยลักษณะนี้ จะให้ความคุ้มครองกว้างมาก ให้ความคุ้มครองทุกประเภทของภัยที่ทำให้ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย ยกเว้น เฉพาะภัยที่ได้ระบุชัดเจนในข้อยกเว้นของกรมธรรม์หรือข้อยกเว้นเพิ่มเติมเท่า นั้น ทรัพย์สินที่สามารถเอาประกันได้ เช่น ตัวอาคาร เครื่องตกแต่งติดตั้งตรึงตรา เครื่องใช้ในสำนักงาน เครื่องจักรต่างๆ
ความคุ้มครองมาตรฐาน
การสูญเสียหรือความเสียหายทางกายภาพ ต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยเนื่องจากอุบัติเหตุ อันเกิดจากปัจจัยภายนอก ซึ่งมิได้ระบุไว้ในข้อยกเว้นของกรมธรรม์ เช่น อัคคีภัย ฟ้าผ่า ภัยเพิ่มต่างๆของกรมธรรม์อัคคีภัย โจรกรรมที่ปรากฏร่องรอยงัดแงะ หรือใช้กำลังอย่างรุนแรงเข้าทำลายทรัพย์สิน เป็นต้น
ข้อยกเว้นสำคัญ

  1. ความเสียหายจากการเสื่อมเสียทางเครื่องยนต์ หรือไฟฟ้า
  2. ความเสียหายจากการสึกหรอ เสื่อมสภาพ ถูกสัตว์ทำลาย หรือจากกรรมวิธีในการทำความสะอาด
  3. ปฏิกิริยาของแสงหรือสภาพดิน ฟ้า อากาศ ( นอกจาฟ้าผ่า )
  4. การแตกหักของกระจก แก้ว หรือวัตถุที่เปราะแตกหักง่าย ซึ่งมิได้เกิดจากอัคคีภัย หรือการลักทรัพย์
    อัตราเบี้ยประกันภัยตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 18 / 2542
  5. กรมธรรม์ที่มีจำนวนเอาประกันภัย ต่ำกว่า 300 ล้านบาท ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัย ไม่น้อยกว่า 105 % ของอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย บวกด้วย อัตราเบี้ยประกันภัยขั้นต่ำ ของภัยเพิ่มตามพิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย
  6. กรมธรรม์ที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัย ตั้งแต่ 300 ล้านบาท ถึง 2,000 ล้านบาท ให้ใช้อัตราเบี้ยประกันภัย ไม่ต่ำกว่า 0.09 % ของจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อปี และไม่เกิน 2.5 % ของจำนวนเงินเอาประกันภัยต่อปี
    ในกรณีที่ผู้เอาประกันตกลงยอมรับผิดในความเสียหายส่วนแรก ( DEDUCTIBLE ) บริษัทต้องลดอัตราเบี้ยประกันลงให้สอดคล้องกับจำนวนเงินความรับผิดชอบส่วน แรก แต่ทั้งนี้ อัตราเบี้ยประกันจะต้องไม่ต่ำกว่า 0.05 % ของจำนวนอาประกันต่อปี
  7. กรมธรรม์ประกันภัย ที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยมากกว่า 2,000 ล้านบาท ขึ้นไปให้บริษัทขอความเห็นชอบจากนายทะเบียนเป็นกรณี ๆ ไป
    ทั้งนี้ ในข้อ 2 และ 3 รายใดที่มีประวัติความเสียหายในระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมามีอัตราค่าเสียหายเฉลี่ยไม่เกิน 30 % ของเบี้ยประกันภัย 3 ปีรวมกัน บริษัทจะต้องทำประกันภัยต่อในประเทศ ไม่น้อยกว่า 30 %
    การประกันภัยความเสี่ยงภัยทุกชนิด สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
  8. การประกันภัยความเสี่ยงภัยทุกชนิดของทรัพย์สินส่วนบุคคล
  9. การประกันภัยความเสี่ยวภัยทุกชนิดาของทรัพย์สินทางการค้าหรืออุตสาหกรรม
  10. การประกันภัยความเสี่ยงภัยทุกชนิดของทรัพย์สินส่วนบุคคล
    กรมธรรม์ประกันภัยนี้ ให้ความคุ้มครองทรัพย์สิน หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยต้องสูญเสียหรือเสียหาย เนื่องจากอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดหมายใดๆ ในขณะที่ทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ภายในสถานที่ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
    อุบัติเหตุ ในความหมายของการประกันภัยทรัพย์สิน เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยไม่คาดคิด ซึ่งผู้เอาประกันภัยมิได้เจตนา และต้องเป็นผลจากเหตุการณ์ภายนอก วัตถุที่เอาประกันภัย อาทิ ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ภัยระเบิด ถูกโจรกรรม การกระแทก หรือตกแตกหัก ภัยลมพายุ เป็นต้น
    ข้อยกเว้นของการประกันภัย
    ข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทุกชนิดของทรัพย์สินส่วนบุคคลโดยทั่วไปมีดังต่อไปนี้
    การประกันภัยนี้ ไม่คุ้มครองการสูญเสีย หรือการเสียหายอันเกิดจาก หรือสืบเนื่องมาจาก หรือเป็นผลโดยตรง หรือโดยอ้อมจากสาเหตุ
  11. สงคราม ( ไม่ว่าจะมีการประกาศสงครามหรือไม่ก็ตาม ) การรุกราย การกระทำของศัตรูต่างชาติ สงครามกลางเมือง การจลาจล การปฏิวัติ การนัดหยุดงาน การก่อความวุ่นวายของประชาชนถึงขนาดลุกฮือต่อต้านรัฐบาล
    ภัยที่กล่าวมานี้เป็นข้อยกเว้นปกติของกรมธรรม์ทุกประเภท ซึ่งเป็นภัยที่ใหญ่หลวงเกินกว่าบริษัทประกันภัยจะรับเสี่ยงภัยได้
  12. การสูญเสียหรือการเสียหายซึ่งเกิดจากการหน่วงเหนี่ยวริบทำลาย หรือการยึดเอาของศุลกากร หรือของเจ้าหนักงานเจ้าที่อื่นๆ หรือของผู้มีอำนาจ
  13. ทรัพย์สินที่ถูกโจรกรรมใน
  14. รถทัศนาจร หรือรถที่มีหลังคาเปิดปิดได้ ซึ่งทิ้งไว้โดยไม่มีคนอยู่
  15. รถอื่นๆที่ทิ้งไว้โดยไม่มีคนอยู่ โดยไม่ปิด และลงกลอนหน้าต่าง ประตู กระโปรงหลัง หรือกูบรถ กระจก บังลมอย่างมั่นคง
  16. การสูญเสีย หรือการเสียหายซึ่งเกิดจากการสึกหรอ เสื่อมสภาพ แมลงกัดกิน เกิดจากกรรมวิธีใดๆ ของการทำความสะอาด การซักล้าง การบูรณะซ่อมแซม หรือปฏิกิริยาของแสง บรรยากาศ หรือสภาพดิน ฟ้า อากาศ ( นอกจากฟ้าผ่า ) ความเสียหายดังกล่าวนี้ส่วน ใหญ่จะมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป หรือบางครั้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ได้ถือว่าเป็นอุบัติเหตุในแง่ของการประกันภัย
  17. การสุญเสีย หรือการเสียหาย ซึ่งเกิดจากการเสื่อมเสียทางเครื่องยนต์ หรือไฟฟ้า ความเสียหายนี้เกิดขึ้นภายในของวัตถุที่เอาประกันภัยเดอง ควรที่จะได้รับการคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัยโดยเฉพาะ เช่น กรมธรรม์ประกันภัยเครื่องจักร และอุบัติเหตุ ในความหมายของกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทุกชนิดจะต้องเกิดจากเหตุภาย นอกของวัตถุที่เอาประกันภัย
  18. การแตกหักของกระจก แก้ว หรือวัตถุที่เปราะ หรือแตกหักง่าย ซึ่งไม่ได้เกิดจากอัคคีภัย หรือโจรกรรม นอกจากนั้นทรัพย์สินที่เอาประกันภัยขางรายการยังจะต้องเป็นไปตามข้อยกเว้น โดยเฉพาะ เช่นเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสาย จะไม่คุ้มครองถึงความเสียหาย ของสายที่ขาดไปเนื่องจากการเล่น
    ข้อยกเว้นของการประกันภัย
    ข้อยกเว้นภายใต้กรมธรรม์การประกันภัยความเสี่ยงภัยทุกชนิดนี้ สามารถแย่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ
  19. ข้อยกเว้นเกี่ยวกับสาเหตุของความเสียหาย
  20. ข้อยกเว้นเกี่ยวกับทรัพย์สิน
    ก.สาเหตุความเสียหายที่ไมได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยประเภทนี้
  21. ไม่คุ้มครองความเสียหายของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย อันเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้.
  22. ( ก ) ความผิดพลาด หรือความบกพร่องในการออกแบบ ความบกพร่องในวัสดุก่อสร้าง หรือฝีมือแรงงาน ความบกพร่องอันเกิดแก่สภาพแห่งทรัพย์สินนั้น สิ่งบกพร่องที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน การเสื่อมสภาพทีละน้อย การเสียรูปทรง หรือการบิดเบี้ยว หรือการสึกหรอ
    ( ข ) การชะงักของระบบ น้ำประปา ก๊าซ กระแสไฟฟ้า หรือเชื้อเพลิง หรือความบกพร่องของระบบกำจัดของเสียที่ใช้ในสถานที่ประกอบการ เว้นแต่มีความเสียหายอันเกิดจากสาเหตุที่มิได้ระบุยกเว้นในกรมธรรม์ประกัน ภัยนี้ เกิดขึ้นต่อเนื่องจากสาเหตุข้างต้นดังกล่าว บริษัทจะรับผิดเฉพาะความเสียหายต่อเนื่องทีเกิดขึ้นเท่านั้น
  23. ( ก ) การพังทลายหรือการแตกร้าวของอาคาร
    ( ข ) การผุกร่อน การเกิดสนิม สภาวะที่อุณหภูมิขึ้นสูงสุดหรือลดต่ำสุด การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ การเปียกชื้นหรือความแห้ง การบูดเน่า เชื้อรา การหดตัว การระเหย การสูญเสียน้ำหนัก มลภาวะ การปนเปื้อน การเปลี่ยนแปลงของ สี รส เนื้อวัตถุ หรือวัสดุเคลือบ ปฏิกิริยาของแสง สัตว์หรือแมลงกัดกิน การเกิดเป็นตำหนิ หรือการขีดข่วน อย่างไรก็ตามบริษัทจะยังรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความสูญเสียดัง กล่าวซึ่งมีสาเหตุโดยตรงจากความเสียหายของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยหรือสถาน ที่ประกอบการอันเป็นที่เก็บทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ อันเกิดจากสาเหตุที่มิได้ยกเว้นไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยนี้
  24. ( ก ) การลักทรัพย์ เว้นแต่การลักทรัพย์จากตัวอาคารโดยการเข้าไปหรืออกมาจากตัวอาคารนั้นด้วยการใช้กำลัง หรือความรุนแรง
    ( ข ) การกระทำการฉ้อฉล หรือการกระทำการทุจริต
    ( ค ) การสูญหายหรือการขาดหายโดยมิทราบสาเหตุ หรือการขาดหายซึ่งพบเมื่อการตรวจสอบบัญชีสินค้า ความผิดพลาดในการเก็บข้อมูล การเก็บข้อมูลผิดที่ การขาดหายในการรับหรือส่งมอบวัสดุหรือการขาดหายเนื่องจากความผิดพลาดในการจด บันทึก หรือทางบัญชี
    ( ง ) การร้าว การแตกหัก การยุบตัว หรือการได้รับความร้อนเกินขนาด ของหม้อน้ำ เครื่องประหยัดพลังงาน ภาชนะของหม้อน้ำ หลอดหรือท่อ หรือการรั่วไหลของส่วนปล่อยความดันหรือระบายไอน้ำหรือความบกพร่องของรอย เชื่อมของหม้อน้ำ
    ( จ ) การขัดข้องของระบบกลไก หรือระบบไฟฟ้า ของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ของเครื่องจักร
    ( ฉ ) การไหลล้น การไหลพุ่ง การรั่วไหล การระเบิดของถังเก็บน้ำ หรืออุปกรณ์ของถังเก็บน้ำหรือ ท่อเมื่อสถานที่ตั้งหรือเก็บทรัพย์สินที่เอาประกันภัยถูกทิ้งว่างเปล่าหรือ มิได้ใช้งาน
    เว้นแต่
    ( 1 ) มีความเสียหายอันเกิดจากสาเหตุที่มิได้ระบุยกเว้นไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยนี้ เกิดขึ้นต่อเนื่องจากสาเหตุข้างต้นดังกล่าว บริษัทจะรับผิดเฉพาะความเสียหายต่อเนื่องที่เกิดขึ้นเท่านั้น
    ( 2 ) ความสูญเสียดังกล่าว ซึ่งมีสาเหตุโดยตรงจากความเสียหายของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย หรือของสถานที่ประกอบการอันเป็นที่เก็บทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ อันเกิดจากสาเหตุที่มิได้ยกเว้นไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยนี้
  25. ( ก ) การพังทลายของชายฝั่งทะเลหรือฝั่งแม่น้ำ
    ( ข ) การทรุดตัว การหดตัว การแยกตัว ของแผ่นดิน
    ( ค ) การทรุดตัวหรือจมตัวตามปกติของสิ่งปลูกสร้าง
    ( ง ) ลม ฝน ลูกเห็บ น้ำค้างแข็ง หิมะ น้ำท่วม ทราย หรือฝุ่นอันเกิดต่ออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งอยู่กลางแจ้ง หรือที่เก็บอยู่ในอาคารโปร่ง หรือประตูรั้ว
    ( จ ) การแช่แข็ง การแข็งตัว หรือการรั่วไหลของวัตถุหลอมละลายโดยอุบัติเหตุ
  26. การประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้ ไม่คุ้มครองความเสียหายของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันเกิดจากหรือสืบเนื่อง จากสาเหตุดังต่อไปนี้
  27. การประทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ของผู้เอาประกันภัย หรือผู้กระทำการแทนผู้เอาประกันภัย
  28. การหยุดทำงาน ความล่าช้าการสูญเสียด้านการตลาด หรือการสูญเสียต่อเนื่อง หรือโดยทางอ้อมไม่ว่าลักษณะใดๆ ก็ตาม
  29. การประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้ ไม่คุ้มครองความเสียหายของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย อันเกิดจากหรือเนื่องมาจาก หรือเป็นผลโดยตรง หรือโดยอ้อม จากสาเหตุดังต่อไปนี้
  30. สงคราม การรุกราน การกระทำของศัตรูต่างชาติ การกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ หรือการปฏิบัติการเยี่ยงสงคราม ( ไม่ว่าจะมีการประกาศหรือไม่ก็ตาม )
  31. การกำเริบ การก่อความไม่สงบของประชาชนถึงขนาดลุกฮือต่อต้านรัฐบาล การแข็งเมือง การกบฏ การปฏิวัติ การยึดอำนาจการปกครองโดยทหาร
  32. การก่อการร่าย โดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับขบวนการก่อการร้าย ข้อยกเว้น 3.3 นี้ไม่ใช่บังคับกรณีความเสียหายจากอัคคีภัยเพื่อประโยชน์ในการตีความตาม ข้อยกเว้น 3.3 คำว่า “ การก่อการร้าย ” หมายถึง การใช้กำลังอย่างรุ่นแรงเพื่อผลทางการเมืองและรวมถึงการใช้กำลังอย่างรุนแรง เพื่อสร้างความหวาดกลัวแก่สาธารณชน หรือแก่กลุ่มสาธารณชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
  33. ( ก ) การสูญเสียกรรมสิทธิ์ของอาคารไม่ว่าโดยถาวรหรือชั่วคราว เนื่องจากการถูกยึดทรัพย์ การโอนทรัพย์สินเป็นของรัฐ การเวนคืน หรือการเกณฑ์เอาโดยคำสั่งทางการของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการตามกฎหมาย
    ( ข ) การสูญเสียกรรมสิทธิ์ของอาคารไม่ว่าโดยถาวรหรือชั่วคราว เนื่องจากการเข้าครอบครองอาคารอันมิชอบด้วยกฎหมายโดยบุคคลใดๆ
    ทั้งนี้ บริษัทยังต้องรัยผิดชอบต่อผู้เอาประกันภัยนี้ สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยที่เกิดจากภัยที่ได้รับความ คุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนการสูญเสียกรรมสิทธิ์หรือในระหว่างการสูญเสียกรรมสิทธิ์ ชั่วคราว
  34. การทำลายทรัพย์สินโดยคำสั่งทางราชการ
    ในการฟ้องร้องและดำเนินคดีในศาลเมื่อบริษัทอ้างว่าการสูญกาย ความสูญเสียหรือความเสียหายความคุ้มครองภายใต้ข้อยกเว้น 3.1 3.2 และ 3.3 ภาระการพิสูจน์ว่าการสูญหาย ความสูญเสีย หรือความเสียหายดังกล่าวได้รับความคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยนี้ ตกเป็นผู้เอาประกันภัย
  35. การประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้ ไม่คุ้มครองความเสียหายของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไม่ว่าเป็นผลโดยตรงหรือ โดยอ้อมอันเกิดจาก หรือสืบเนื่องจาก หรือเป็นผลเนื่องจาก หรือมีส่วนมาจาก
  36. อาวุธนิวเคลียร์
  37. การแผ่รังสี การแผ่กัมมันตภาพรังสีจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใดๆ หรือจากนิวเคลียร์ใดๆ เนื่องจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เพื่อประโยชน์ในการตีความตามข้อยกเว้น ข้อ 4.2 ว่า “ การเผาไหม้ ” ให้รวมถึงการแตกแยกตัวทางนิวเคลียร์ซึ่งดำเนินการติดต่อกันไปโดยตัวเอง
    ข. ทรัพย์สินที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้
  38. การประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้ ไม่คุ้มครองความเสียหายของทรัพย์สินดังต่อไปนี้
  39. ( ก ) เงินตรา เช็ค แสตมป์ พันธบัตร บัตรเครดิต หลักประกันหนี้สิน หลักทรัพย์ เพชรพลอย อัญมณีมีค่า ทองแท่ง ขนสัตว์ วัตถุหายาก หนังสือหายาก หรือศิลป์วัตถุ เว้นแต่จะได้ระบุไว้เป็นการเฉพาะว่าได้เอาประกันภัยไว้ภายใต้กรมธรรม์ประกัน ภัยนี้ และให้ถือว่าได้รับความคุ้มครองตามภัยที่ระบุไว้ในข้อนี้
    ( ข ) แผ่นกระจกทุกชนิด เครื่องแก้ว เครื่องเคลือบดินเผา หินอ่อน หรือวัตถุที่เปราะหรือแตกง่ายอื่นๆ
    ( ค ) อุปกรณ์และเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องสมองกล หรืออุปกรณ์ประมวลผลข้อมูล
    แต่จะคุ้มครองความเสียหาย ( ซึ่งไม่ได้ระบุยกเว้นความเสียหายไว้เป็นอย่างอื่น ) อันสืบเนื่องมาจากอัคคีภัย ฟ้าผ่า ภัยระเบิด ภัยทางอากาศ ภัยจลาจล และนัดหยุดงาน รวมทั้งการปิดงาน งดจ้าง ความเสียหายอันเนื่องมาจากบุคคลอื่นที่เข้าร่วมในการก่อความไม่สงบของคนงาน ภัยเนื่องจากป่าเถื่อน และการกระทำด้วยเจตนาร้าย ภัยจากยวดยานพาหนะ ภัยแผ่นดินไหว ภัยลมพายุ ภัยน้ำท่วม ภัยเนื่องจากน้ำ รวมทั้งการไหลล้น การไหลพุ่ง การรั่วไหล หรือการระเบิดของถังเก็บน้ำ หรืออุปกรณ์ของถังเก็บน้ำ หรือท่อ
  40. สินค้าซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้ รักษาทรัพย์ เอกสาร ต้นฉบับเอกสาร สมุดบัญชี ระบบสมองกล บันทึกข้อมูล รูปแบบต้นฉบับ แบบแปลน แบบจำลอง แม่พิมพ์ วัตถุระเบิด เว้นแต่จะได้ระบุไว้เป็นการเฉพาะว่าได้เอาประกันภัยไว้ ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยนี้
  41. ( ก ) ยานพาหนะที่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนสำหรับใช้บนถนน ( รวมทั้งอุปกรณ์ ) รถตู้นอน รถพ่วง หัวรถจักร ตู้รถไฟบรรทุกสินค้า ยานพาหนะทางน้ำ อากาศยาน ยาวอวกาศ หรือสิ่งอื่นที่คล้ายคลึงกัน
    ( ข ) ทรัพย์สินที่อยู่ในระหว่างการขนส่ง ซึ่งมิใช่เป็นเคลื่อนย้ายภายในสถานที่ตั้งทรัพย์สินตามที่ระบุ ไว้ใน ตารางกรมธรรม์ประกันภัย
    ( ค ) ทรัพย์สิน หรือสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในระหว่างการรื้อถอน การก่อสร้าง หรือการติดตั้ง รวมทั้งวัตถุ หรือวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการนั้นด้วย
    ( ง ) ที่ดิน ( รวมทั้งหน้าดิน ดินกลบแต่ง ท่อระบายน้ำ หรืออุโมงค์ระบายน้ำ ) ทางสัญจร ทางเท้า ถนน ลานบิน รางรถไฟ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ คลองหลุมเจาะ บ่อน้ำ ท่อส่งอุโมงค์ สะพาน อู่เรือ ท่าจอด หรือเทียบเรือทุกประเภท หลุมขุดทรัพย์สินที่อยู่ในเหมืองใต้ดิน ทรัพย์สินที่อยู่นอกฝั่ง
    ( จ ) ปศุสัตว์ พืชไร่ หรือต้นไม้
    ( ฉ ) ทรัพย์สินซึ่งเสียหายเนื่องจาก หรือในระหว่างขบวนการผลิตใดๆ
    ( ช ) เครื่องจักรในระหว่างการติดตั้งการเคลื่อนย้าย หรือการเปลี่ยนที่ตั้ง ( รวมทั้งการถอดถอน และติดตั้งใหม่ ) ซึ่งความเสียหายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำดังกล่าวนั้น
    ( ซ ) ทรัพย์สินในระหว่างการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ซ่อมแซม ทดลอง ติดตั้ง หรือซ่อมบำรุง รวมทั้งวัตถุหรือวัสดุที่จัดหามาเพื่อการดังกล่าวนั้น ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการปฏิบัติการนั้น หรือจากการทำงานโดยใช้ทรัพย์สินนั้น
    เว้นแต่มีความเสียหายอันเกิดจากสาเหตุซึ่งมิได้ยกเว้นไว้เกิดขึ้นต่อเนื่อง จากสวาเหตุข้างต้นดังกล่าว และในกรณีนี้ บริษัทจะรับผิดเฉพาะความเสียหายต่อเนื่องที่เกิดขึ้นเท่านั้น
    ( ฌ ) ทรัพย์สินที่ได้จัดทำประกันภัยไว้เป็นการเฉพาะ
  42. ความเสียหายของทรัพย์สินซึ่งผู้เอาประกันภัยสามารถเรียกร้อง ค่าเสียหายหรือ ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเลและขนส่งยกเว้น ความเสียหายส่วนเกินซึ่งไมได้รับการชดใช้ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล และขนส่งดังกล่าว
  43. ความเสียหายของหม้อน้ำ เครื่องประหยัดพลังงาน กังหันไอน้ำ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ ซึ่งใช้แรงอัดรวมถึง ชิ้นส่วนของทรัพย์สินดังกล่าว อันเกิดจากการระเบิด และการแตกร้าวของตัวเอง
  44. การประกันภัยความเสี่ยงภัยทุกชนิดของทรัพย์สินทางการค้าหรืออุตสาหกรรม
    การประกันภัยชนิดนี้ แต่เดิมจะเป็นการเอาประกันภัยอัคคีภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยอัคคีภัย และมีการขยายความคุ้มครองออกไปถึงภัยพิเศษเพิ่มเติมต่างๆ เช่น ภัยจากลมพายุ ภัยน้ำท่วม หรือภัยระเบิด ฯลฯ โดยแต่ละที่คุ้มครองเพิ่มเติมจะมีขอบเขตและข้อจำกัดที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน ในเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ รวมทั้งมีการเก็บเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติมแยกออกเป็นแต่ละรายการ
    ซึ่งต่อมาธุรกิจทางเศรษฐกิจต่างๆมีการเปลี่ยนแปลง ขยายตัวแบบรวดเร็วและต่อเนื่อง ธุรกิจบางอย่างมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทรัพย์สินต่างๆเหล่านี้มีการเผชิญกับความเสี่ยงภัยจากอุบัติเหตุหลากหลายมาก ยิ่งขึ้น เช่นเดียวกัน ทำให้มีการคิดค้นหาประเภทหกรมธรรม์ประกันภัยที่จะให้ความคุ้มครองมากกว่า กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยและภัยพิเศษ
    ความคุ้มรองของกรมธรรม์ประกันภัย
    ลักษณะความคุ้มครองของการประกันภัย ความเสี่ยงภัยทุกชนิดของทรัพย์สินทางการค้า หรือ อุตสาหกรรม เป็นแบบกว้าง มิได้ระบุหรือกำหนดความเสียหรือภัยที่จะได้รับความคุ้มครอง โดยมีข้อความในส่วนของความคุ้มครองดังต่อไปนี้
    ภายใต้บังคับข้อตกลงคุ้มครอง เงื่อนไขทั่วไป ข้อกำหนด ข้อยกเว้น เอกสารแนบท้ายกรมธรรม์นี้ และเป็นการตอบแทนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยต้องชำระ บริษัทตกลงจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามมูลค่าของทรัพย์สิน ที่เอาปรุกันภัย ณ. เวลาที่เกิดสูญหาย ความสูญเสีย หรือความเสียหาย หรือตามจำนวนที่เสียหายจริง หรือมีการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนให้ใหม่สำหรับการสูญหายหรือความเสียหายทาง กายภาพของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยโดยอุบัติเหตุใดๆที่มิได้มีการระบุไว้ใน ข้อยกเว้น ซึ่งเกิดขึ้นภายในระยะเวลาเอาประกันภัย แต่ทั้งนี้ ความรับผิดชอบของบริษัทต่อความเสียหายแต่ละครั้งหรือความเสียหายหลายครั้ง รวมกันภายในระยะเวลาเอาประกันภัยจะไม่เกิน
  45. จำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้ตามรายการแต่ละรายการ และเมื่อรวมกันแล้วไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ ประกันภัยนี้
  46. จำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย นี้ หรือจำนวนเงินเอาประกันภัยซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนบ ท้ายกรมธรรม์ประกันภัยนี้ ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยนี้
    การสูญหาย ความสูญเสียหรือความเสียหายทางกายภาพของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยโดยอุบัติเหตุ เรียกว่า ความเสียหาย ดังนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัยจะต้องประกอบด้วย
  47. อุบัติภัย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยพลัน และเป็นเรื่องบังเอิญโดยที่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้มีเจตนา หรือตั้งใจ
  48. ทางกายภาพ โดยจะเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่มีตัวตน
  49. ทำให้เกิดการสูญเสีย หรือเสียหาย ซึ่งหมายถึงการสูญเสียไป หรือสิ้นไปของวัตถุที่เอาประกันภัย หรือความเสียหาย ซึ่งหมายถึงการที่วัตถุที่เอาประกันภัยลดปริมาณ เสื่อมคุณภาพหรือคุณค่าไป โดยยังปรากฏซากทรัพย์เหลืออยู่
    กรมธรรม์การประกันภัยการเสี่ยงภัยทุกชนิด
    โดยที่ผู้เอาประกันภัยได้ยื่นใบ คำขอเอาประกันภัยและแจ้งรายละเอียดการขอประกันต่อบริษัท และผู้เอาประกันภัยตกลงยินยอมให้ใบคำขอเอาประกันภัยและการแจ้งรายละเอียดการ ขอเอาประกันภัยดังกล่าวเป็นมูลฐานและส่วนหนึ่งของสัญญาประกันภัย ดังจะกล่าวต่อไปนี้
    เพื่อเป็นการตอบแทนในการที่ผู้เอาประกันภัยได้ชำระเบี้ยประกันภัยของการ ประกันภัยแก่บริษัท ดังนั้นบริษัทตกลงภายใต้ข้อกำหนด ข้อยกเว้น ข้อจำกัดและเงื่อนไขต่างๆที่ปรากฏในกรมธรรม์นี้ หรือที่ติดอยู่กับกรมธรรม์นี้ว่า ถ้าหาก ภายในระยะเวลาของการประกันภัยนี้ ทรัพย์สินหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของทรัพย์สินที่ระบุภายในตารางได้รับความเสีย หายหรือสูญเสีย โดยเกิดจากอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ที่ไมได้คาดหมายใดๆในขณะที่ทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ภายในบริเวณ ที่ได้ระบุไว้ในตาราง บริษัทจะชดใช้ค่าเสียหายหรือการสูญเสียดังกล่าวโดยชำระเป็นเงิน หรือโดยการซ่อม หรือเปลี่ยนให้ใหม่ตามความเห็นชอบของบริษัท
    ข้อยกเว้น
    การประกันภัยดังกล่าวข้างต้น จะไม่รวมถึง หรือมีผลบังคับในกรณี
  50. เหตุการณ์ที่เกิดจากสงคราม การรุกราน การกระทำของศัตรูต่างประเทศ หรือการสู้รบเป็นปรปักษ์ ( ไม่ว่าจะเป็นสงครามที่ประกาศหรือไม่ก็ตาม ) สงครามกลางเมือง การจลาจล การปฏิวัติ การกบฏ การแข็งเมือง การใช้กำลังทหาร หรือการแย่งชิงอำนาจ
  51. ภัยจากภายนอกประเทศ เหตุการณ์ที่เกิดจากการรัดหยุดงาน การจลาจล การลุกฮือของพลเรือน
  52. การสูญเสีย หรือเสียหายซึ่งเกิดจากการหน่วงเหนี่ยว ริบ ทำลาย หรือยึดเอาของศุลกากร หรือเจ้าหน้าที่พนักงาน เจ้าหน้าที่อื่นๆ หรือผู้มีอำนาจ
  53. ทรัพย์สินที่ถูกโจรกรรมใน ( ก ) รถทัศนาจร หรือรถที่มีหลังคาเปิดปิดได้ ซึ่งทิ้งไว้โดยไม่มีคนอยู่ ( ข ) รถอื่นๆที่ทิ้งไว้ไม่มีคนอยู่ โดยไม่ได้ปิด และลงกลอน หน้าต่างประตู กระโปรงหลัง หรือกูบรถ กระจกบังลม อย่างมั่นคง
  54. การสูญเสีย หรือการเสียหายซึ่งเกิดจากการสึกหรอ เสื่อมสภาพ เสื่อมค่า แมลงกัดกิน ถูกสัตว์ทำลาย เกิดจากกรรมวิธีใดๆของการทำความสะอาด ซักล้าง การบูรณะซ่อมแซม หรือปฏิกิริยาของแสง บรรยากาศ หรือสภาพดิน ฟ้า อากาศ ( นอกจากฟ้าผ่า )
  55. การสูญเสีย หรือความเสียหายซึ่งเกิดจากการเสื่อมเสียทางเครื่องยนต์ หรือไฟฟ้า
    การแตกหักของกระจก แก้ว หรือวัตถุที่เปราะ หรือแตกหักง่าย ซึ่งไม่ได้เกิดจากอัคคีภัย หรือโจรกรรม