การประกันภัยทางทะเล และ ขนส่ง
( Marine Insurance )
การประกันภัยทางทะเล หมายถึง การประกันความเสียหายแก่เรือ และทรัพย์สิน หรือสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล และยังขยายขอบเขตความคุ้มครองไปถึงการขนส่งสินค้าทางอากาศ และทางบก ซึ่งต่อเนื่องกับการขนส่งทางทะเลด้วย
ประเภทของการประกันภัยทางทะเล
การประกันภัยทางทะเลแบ่งออกได้เป็น 2 ประการ คือ
บุคคลผู้มีสิทธิหรือมีส่วนได้เสียที่อาจเอาประกันภัยทางทะเลได้
ผู้ที่จะเอาประกันภัยได้ จะต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย เช่น เจ้าของเรือ มีส่วนได้เสียที่อาจเอาประกันภัยตัวเรือได้ และยังอาจเอาประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ในกรณีที่เรือนั้นก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอก เจ้าของสินค้า ย่อมมีส่วนได้เสียที่อาจเอาประกันภัยสินค้าที่ขนส่งทางทะเลได้ และยังอาจเอาประกันภัย รวมไปถึงกำไรที่จะพึงได้รับจากการขายสินค้านั้นด้วย ผู้ขนส่งย่อมมีส่วนได้เสียที่อาจเอาประกันภัย ความรับผิดต่อสินค้าที่ผู้ขนส่งรับทำการขนส่ง ซึ่งอาจเอาประกันภัยได้ เท่ากับราคาของทรัพย์สินที่รับทำการขนส่ง และยังอาจเอาประกันภัยค่าระวาง ค่าขนส่ง และค่านายหน้า ที่จะพึงได้รัยในการขนส่งได้ด้วย
เอกสารสำคัญในทางการค้าระหว่างประเทศ
หลักฐานทางเอกสารที่แสดงกรรมสิทธิ์ในการค้าระหว่างประเทศ คือ
การกำหนดราค่าสินค้าในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
การกำหนดราคาสินค้าในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ โดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ
1. ราคาเฉพาะสินค้าอย่างเดียว หรือเรียกว่า ราคา F.O.B. ( Free on board ) หมายถึง ผู้ขายมีหน้าที่ และความรับผิดชอบนำสินค้าที่ผู้ซื้อ ส่งขึ้นเรือเดินสมุทรเท่านั้น โดยไม่ต้อจ่ายค่าระวางเรือ และไม่ต้องซื้อประกันภัยในการขนส่งสินค้านั้นด้วย ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายค่าระวางเรือ และทำประกันภัยเอง
2. ราคาค่าสินค้าบวกค่าระวางเรือ หรือที่เรียกว่า ราคา C&F ( Cost and Freight ) หมายถึง ผู้ขายมีหน้าที่ และความรับผิดชอบนำสินค้าไปลงเรือเดินสมุทรพร้อมกับจ่ายค่าระวางเรือ ณ ต้นทาง แต่ไม่ต้องทำประกันภัยในการขนส่งสินค้านั้น
3. ราคาสินค้าบวกค่าระวางเรือ และ บวกค่าประกันภัยด้วย หรือ ที่เรียกว่า ราคา C.I.F. ( cost Insurance and Freight ) หมายถึง ผู้ขายมีหน้าที่ และความรัยชอบในการนำสินค้าไปลงเรือเดินสมุทร จ่ายค่าระวางเรือ ณ ต้นทาง และซื้อประกันภัยคุ้มครองการขนส่งสินค้า จนถึงโรงเก็บสินค้าของผู้ซื้อ ณ เมืองท่าปลายทาง
การค้าระหว่างประเทศ
การที่ธนาคารกล้าปล่อยเครดิต โดยจ่ายค่าสินค้าให้ผู้ขายไปก่อน ก็เพราะมีความมั่นใจว่า ผู้สินค้า ในฐานะลูกหนี้ต่อธนาคาร ได้ทำประกันภัยการขนส่งสินค้าไว้ สามารถจ่ายคืนหนี้สินกับธนาคารได้ ซึ่งโดยปกติ ธนาคารก็จะเปิด L/C ให้แก่ผู้สั่งซื้อสินค้า ธนาคารก็มักจะเรียกร้องให้ทำประกันภัยสินค้าที่สั่งเข้ามาก่อนเสมอ
ภัยที่คุ้มครองและเงื่อนไขความคุ้มครองในกรมธรรม์
1. ภัยทางทะเล ( Peril of the sea ) หมาย ถึง ภยันตรายที่เกิดจากเหตุการณ์อันไม่อาจคาดหมายได้ ซึ่งเกิดจากภาวะผิดปกติของลม และคลื่นในทะเล ได้แก่ พายุ มรสุม เรือจม เรือชนกัน และเรือเกยตื้น
2. อัคคีภัย ( Fire ) ได้แก่ ความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้ แต่ต้องไม่เกิดจากความประพฤติผิดของผู้เอาประกันภัยเอง หรือเกิดจากการลุกไหม้ขึ้นมาเองของสินค้าอันเนื่องจากธรรมชาติ
การเลือกซื้อความคุ้มครอง
ภัยพิเศษ ( Extraneous Risks )
ภัยพิเศษ หมายถึง ภัยภายนอก ที่ไม่ใช่ภัยทางทะเล แต่เป็นภัยที่เกิดขึ้น เนื่องจากการขนส่งสินค้าทางทะเล ภัยพิเศษนี้ ถ้าผู้เอาประกันภัยซื้อความคุ้มครองตามเงื่อนไข All Risks ก็จะได้รับความคุ้มครองภัยพิเศษนี้ด้วย ภัยเพิ่มเติมพิเศษที่ผู้เอาประกันภัยนิยมซื้อเพิ่มเติมจากเงื่อนไข F.P.A. หรือ W.A. มีดังต่อไปนี้
กรมธรรม์ประกันภัยแบบใหม่ สำหรับการขนส่งสินค้าทางทะเล ของสถาบันผู้รับประกันภัยแห่งลอนดอน ( Institute Cargo Clauses ) ที่ร่างขึ้นใหม่ คือ
Institute Cargo Clauses ( A ) ( ICC A ) ใช้แทนเงื่อนไขเดิม All Risks
Institute Cargo Clauses ( B ) ( ICC B ) ใช้แทนเงื่อนไขเดิม W.A.
Institute Cargo Clauses ( C ) ( ICC C ) ใช้แทนเงื่อนไขเดิม F.P.A.
การทำประกันภัย
ในการทำประกันภัยนั้น หากมีข้อมูลไม่เพียงพอ เช่น ไม่รูชื่อเรือ ไม่รู้จำนวนสินค้าที่แน่นอน การออกกรมธรรม์ประกันภัย ก็ไม่สามารถกระทำได้ สินค้าอาจได้รับความเสียหายก่อนที่ผู้ซื้อจะได้รัยแจ้งเรื่องของลงเรือได้ ดังนั้น จึงเกิดความจำเป็นที่ผู้นำเข้า ควรจะได้รับการคุ้มครองจากบริษัทประกันภัยล่วงหน้า หรือโดนอัตโนมัติ ในทางปฏิบัติ การทำประกันล่วงหน้าเช่นนี้ สามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ
1.โดยการใช้ Cover Note
คือ เอกสารที่ผู้รับประกันภัยออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่า สินค้าตามรายการที่ระบุไว้ใน Cover Note นั้น ได้รับความคุ้มครองจากผู้รับประกันภัยแล้ว ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ใน Cover Note นั้น ตามปกติ เอาประกันภัยควรแสดงแจ้งให้ผู้รับประกันภัยออก Cover Note ทันที่ ที่เปิด L/C หรือ สั่งซื้อสินค้า และต่อมาเมื่อผู้เอาประกันภัยทราบจำนวนหีบห่อ ชื่อเรือ และวันที่สินค้าลงเรือจากผู้ขายแล้ว จึงแจ้งบริษัทประกันภัยอกกรมธรรม์ให้
2. โดยการใช้ Open Cover หรือ Open Policy
จะใช้ในกรณีที่ผู้เอาประกัน สั่งสินค้าจำนวนบ่อยครั้ง ซึ่งถ้าจะใช้วิธีออก Cover Note อาจไม่สะดวก และบางครั้งอาจลืมทำประกันได้ เพื่อหลีกเลี่ยงความไม่สะดวกดังกล่าว โดยทั่วไปแล้ว ผู้ส่งสินค้าออก จะทำประกันเป็นกรมธรรม์ระยะยาว
ภายใต้ความคุ้มครองแบบกรมธรรม์เปิด ผู้เอาประกันภัย ได้รับการคุ้มครองโดยอัตโนมัติ สำหรับการส่งสินค้าทุกเที่ยว ภายใต้เงื่อนไข และอัตราเบี้ยประกันภัยที่ตายตัว มีการจำกัดจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด สำหรับการขนส่งในเรือหนึ่งลำ ถ้าผู้เอาประกันภัย ประสงค์จะให้การคุ้มครองเกินกำหนดดังกล่าว ก็จะต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบ ก่อนที่จะทำการขนส่งภายใต้สัญญาคุ้มครองแบบกรมธรรม์เปิด ( Open Cover ) กำหนดให้ผู้เอาประกันภัย ต้องรับผิดชอบในเรืองการแจ้ง ให้ผู้รับประกันภัยทราบโดยเร็ว เท่าที่จะทำได้ถึงการขนส่งทุกเที่ยว หลังจากสินค้าเริ่มออกเดินทาง