การประกันภัยกระจก

การประกันภัยกระจก

การประกันภัยกระจก

( Plate Glass Insurance )

กระจกถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่งและมีความเสี่ยงต่อความ เสียหายจากสาเหตุหลายประการ  แม้ว่าความเสียหายที่มีต่อกระจกจะเป็นจำนวนไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับมูลค่าของทรัพย์สินอื่น  แต่บางอาคารที่ประกอบด้วยผนังกระจกเป็นส่วนใหญ่  จะได้รับความเสียหายเป็นจำนวนเงินที่สูงหากได้รับจากอุบัติเหตุแต่ละครั้ง  เนื่องจากกระจกมีหลายประเภท  ขึ้นอยู่กับการใช้งานและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปของการใช้ผลประโยชน์  บางประเภทจะผลิตเป็นพิเศษ  ซึ่งสามารถดูดซับความร้อนและทนทานต่อการแตกหัก  กระจกบางอย่างมีสีสันภายใจตัวและถูกหลอมออกมาในรูปที่แตกต่างกันออกไป  กระจกที่ใช้สำหรับกั้นห้องแสดงสินค้า  หรือตามห้างสรรพสินค้า  ศูนย์การค้า  จะมีการตกแต่งหรือเขียนอักษรบนกระจก  ดังนั้นความเสียหายหรือไปไปของกระจก ย่อมทำให้สิ่งที่ตกแต่งนั้นถูกทำลายลงไปด้วย  บางค่าใช้จ่ายในการตกแต่งกระจกอาจมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าของกระจก  กรมธรรม์นี้จึงเป็นการประกนภัยที่เหมาะสมกับความเสี่ยงภัยของกระจกที่อาจแตก จากสาเหตุใด ๆ

ความคุ้มครองการประกันภัยกระจก

ความเสียหายจากสาเหตุต่างๆพอที่จะจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะคือ

  1. แตก
  2. รอยสึก รอยถลอก
  3. ความเสียหายทางเคมี

สาเหตุความเสียหายของกระจกโดยทั่วไป พอสรุปได้ดังต่อไปนี้

  1. การหดตัวหรือขยายตัวของกระจก
  2. การเปิด-ปิดประตูอย่างรุนแรง
  3. ถูกโจรกรรม
  4. ลม
  5. ถูกชนโดยคน  วัตถุสิ่งของ ยานพาหนะ หรือสัตว์
  6. การปรับตัวของอาคาร
  7. แรงสั่นสะเทือนของระเบิดหรือคลื่นเสียง
  8. ความร้อนจากไฟไหม้  หรือแหล่งกำเนิดความร้อนที่ตั้งอยู่ใกล้ชิดกับกระจก
  9. การบิดโค้งตัวของกรอบหรือที่ติดตั้งกระจก
  10. ก้อนหินกระเด็นถูก
  11. เสียหายระหว่างจลาจล
  12. เสียหายจากผู้ที่มีเจตนาร้ายกลั่นแกล้ง

กรมธรรม์ประกันภัยกระจกจะให้ความคุ้มครองกระจกที่ได้รับระบุไว้ใน ตารางกรมธรรม์ ซึ่งแตกด้วยสาเหตุใด ๆ ที่มิได้ระบุไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์ในระหว่างระยะเวลาการประกันภัย
ข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัยกระจก
1. การเสียรูปหรือเสียหาย นอกจากการร้าวที่ร้าวตลอดความหนาของกระจก
กระจกที่เอาประกันภัยอาจจะได้รัยความ เสียหาย  เช่น  มีรอยขีดข่วน  หรือเกิดพายุพัดเอาทรายหรือฝุ่นมากระทบและทำให้เกิดความเสียหายแกแผ่นกระจก  อันมีผลทำให้ไม่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใช้งาน  หรือทำให้สภาพความโปร่งใส่ลดลง หรือมีรอยร้าวต่อผิวหน้าของกระจก  ความเสียหายดังกล่าวนี้จะไม่ได้รับความคุ้มครองจากสัญญากรมธรรม์  เว้นแต่การร้าวตลอดความหนาของกระจก  คือ  รอยร้าวดังกล่าวจะเริ่มจากผิวด้านหนึ่งของกระจกตลอดไปจรดผิวอีกด้านหนึ่ง ของกระจกโดยถือว่าการร้าวลักษณะนี้เป็นการแตกของกระจกที่ย่อมได้รับความคุ้ม ครอง
2.  การแตกหักซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่ง  หรือในระหว่างที่ติดตั้งหรือถอดถอนออก  หรือในระหว่างที่ดัดแปลงสถานที่ดังระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย
วัตถุประสงค์ของกรมธรรม์จะให้ความคุ้ม ครองกระจกที่ติดตั้งเสร็จเรียบร้อย  ภายในตำแหน่งและสถานที่ที่ระบุไว้ในตารามกรมธรรม์ประกันภัยเท่านั้น  ความเสี่ยงภัยที่ระบุในข้อยกเว้น  เป็นความเสี่ยงภัยที่สามารถเอาประกันภัยกับกรมธรรม์อื่นที่เหมาะสมมากกว่า  อีกทั้งไม่เป็นการซ้ำซ้อน
3.  การแตกหักที่เป็นผลโดยตรงหรือโดยอ้อม  หรือเกี่ยวเนื่องมาจาก

  1. สงคราม ( ไม่ว่าจะมีการประกาศหรือไม่ก็ตาม )  การรุกราย  การกระทำของศัตรูต่างชาติ  สงครามกลางเมือง  ปฏิวัติ  กบฏ  การใช้กำลังทางทหาร
    1. การนัดหยุดงาน การจลาจล  การที่ประชาชนก่อความวุ่นวาย ถึงขนาดลุกฮือต่อต้านรัฐบาล ( ข้อยกเว้นตามข้อ 3.1 และ 3.2  เป็นการยกเว้นจากมหันตาภัย )
    1. การกักกัน การยึด  การถูกริบ  การกระทำเช่นนี้
    1. อัคคีภัย  ระเบิด  ฟ้าผ่า  อุทกภัย  พายุใต้ฝุ่น  ลมพายุ  แรงระเบิดจากภูเขาไป  แผ่นดินไหว  หรือความผันแปรอย่างอื่นของธรรมชาติ  ( ความเสียหายจากภัยที่ยกเว้นในข้อ  3.4  ส่วนใหญ่จะเป็นภัยที่สามารถซื้อความคุ้มครองได้จากกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย )

4.  กัมมันตภาพรังสีของไอออน หรือการแพร่กัมมันตรังสีจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์  หรือจากกากนิวเคลียร์อันเนื่องมาจากการเผาเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ( ข้อยกเว้นข้อ 4 เป็นการยกเว้นความเสียหายที่เกิดจากมหันตาภัย )

  1. การประเมินสภาพของความเสี่ยงภัย  ผู้รับประกันภัยควรพิจารณาถึงภาวะภัย  และความเสียหายที่เกิดแก่กระจกที่เอาประกันภัย  มีหลายปัจจัยเกี่ยวข้องคือ
    1. ขนาดของกระจก  หมายถึงความกว้าง  ยาว  และความหนาของกระจก  โดยทั่วไปแล้ว  บานกระจกขนาดใหญ่มักจะได้รับความเสียหายง่ายกว่าบานกระจกขนาดเล็ก  อีกทั้งความรุนแรงของความเสียหายย่อมมากกว่า
    1. ประเภทของกระจก  ความแตกต่างกันในแต่ละประเภทของกระจก ย่อมทำให้ความเสี่ยงภัยต่อการแตกของกระจกต่างกันออกไป  กระจกที่เคลือบด้วยพลาสติกจะช่วยให้มีความต้านต่อการแตกได้ดีกว่า
    1. บริเวณที่ติดตั้งกระจกภายในอาคารและรวมไปถึงสถานที่ตั้งของ อาคารนั้น  ระจกที่ติดตั้งอยู่ภายในอาคารหรืออยู่ในระดับสูงขึ้นไปจากระดับเดียวกับถนน  ย่อมมีโอกาสได้รับความเสียหายน้อยกว่า
    1. ลักษณะการใช้ของอาคารที่ติดตั้งกระจก  ถ้าเป็นอาคารที่มีผู้คนแวะเวียนเข้าออกเป็นจำนวนมาก  เช่นห้างสรรพสินค้า  โรงแรม  โรงมหรสพย่อมจะมีความเสี่ยงสูกว่า
  2. ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยและจำนวนเบี้ยประกันภัยและจำนวนเงิน เอาประกันภัย  กระจกที่เอาประกันภัยจะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน  เช่น  บานกระจกใสสำหรับห้องโชว์  กระจกเงา  อิฐแก้ว  ทั้งนี้จะต้องมีการระบุไว้โดยเฉพาะในตารางกรมธรรม์  มิฉะนั้นให้สันนิษฐานว่าบรรดากระจกนั้นเป็นกระจกเรียบคุณภาพขัดมันปกติ

ลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของกรมธรรม์ประกันภัยกระจก  คือจะไม่มีการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย  แต่ผู้รับประกันภัยตกลงที่จะซ่อมแซมหรือหากระจกอื่นมาทดแทนกระจกที่แตกไป  อย่างไรก็ตาม  การตกแต่งหรืออักษรที่เขียนบนกระจกจะต้องมีการกำหนดวงเงินเอาไว้  การคิดเบี้ยประกันภัยในลักษณะพิเศษนี้จะคำนวณจากพื้นฐานของความเสี่ยงภัย ของกระจก
สำหรับประเทศไทยส่วยใหญ่จะมีการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยที่แน่นอน ทั้งตัวกระจก และการตกแต่ง หรืออักษรที่เขียนบนกระจก  ในการคิดเบี้ยประกันภัย  จะนำเอาจำนวนเงินที่เอาประกันภัยมาร่วมในการคำนวณ
3.   ความเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง  ผู้รับประกันภัยอาจจะกำหนดให้ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบในความเสียหาย ส่วนแรกด้วยตัวเอง  หากกระจกที่เอาประกันภัยแตกไป  แม้ว่าข้อกำหนดนี้อาจจะไม่มีประโยชน์สำหรับคำจำกัดความเสียหายเล็ก ๆ น้อย ๆ  เนื่องจากลักษณะความเสียหายของกระจกจะเป็นแบบเสียหายโดยสิ้นเชิง  แต่ข้อไหนจะทำให้เกิดการระมัดระวังป้องกันให้เกิดความปลอดภัยยิ่งขึ้น

การขยายความคุ้มครอง

            กรมธรรม์ประกันภัยกระจก  สามารถขยายความคุ้มครองเพิ่มเติมให้แก่ผู้เอาประกันภัยได้ดังต่อไปนี้

  1. ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายซากทรัพย์  ในกรณีกระจก แตก  เศษของกระจกอาจจะกระจัดกระจายออกไป  เช่น  ตกลงบนพื้น  แทรกอยู่ในพรมปูพื้น  การเก็บเศษกระจกเหล่านี้อาจจะต้องกระทำโดยช่างผู้ชำนาญการเฉพาะ  ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และบางครั้งอาจจะมากกว่ามูลค่าของกระจกที่แตก
  2. ความเสียหายของโครงหรือกรอบที่ติดตั้งกระจก  กระจก แตกอาจทำให้โครงหรือกรอบเสียหาย  และโดยการขยายความคุ้มครองเพิ่มเติมนี้ ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการซ่อมแซมให้กลับสู่สภาพเดิม หรือการทดแทนโครงหรือกรอบที่ติดตั้งกระจกที่ได้รับความเสียหายดังกล่าว
  3. ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายเครื่องกีดขวาง  ใน กรณีกระจกบานใหญ่แตก  การติดตั้งใหม่กระจกใหม่อาจจำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวาง  เช่น วัสดุกั้นก้อง  อุปกรณ์  ดังนั้นผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางเหล่า นี้  เพื่อที่จะสามารถติดตั้งกระจกใหม่ให้

การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสามารถสรุปได้ ดังต่อไปนี้

  1. ชดใช้สินไหมเป็นตัวเงินกับผู้เอาประกันภัย เท่ากับมูลค่าของกระจกที่แตกไปพร้อมทั้งจ่ายค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควร เพื่อนำสิ่งอื่นมาปิดไว้ในระหว่างที่ยังไมได้นำกระจกมาใส่แทน
  2. หากระจกอื่นทดแทน  หรือซ่อมแซมกระจกที่แตกไปโดยผู้รับประกันภัยจะดำเนินการจัดกาผู้ที่จะติด ตั้งหรือซ่อมแซมกระจกใหม่  หากจำเป็นต้องดัดแปลง หรือถอดถอนก่อนที่จะเอากระจกใหม่มาใส่ได้  ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบเอง

ในระหว่างที่ยังไม่ได้นำกระจกมาใส่ใหม่หลังจากที่กระจกแตกไป  อาจจำเป็นที่ต้องนำสิ่งอื่นมาปิดแทนเพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันความเสีย หายที่เกิดต่อทรัพย์สินที่อยู่ภายในอาคาร  หรือเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากบุคคลภายนอก  ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการนำสิ่งอื่นมาปิดแทนเหล่านี้ ด้วย